


หลักสูตรนวัตกรรมธุรกิจระบบราง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สร้างอนาคต-สร้างงาน
ด้วยวิสัยทัศน์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งในปัจจุบันเป็นผู้นำในด้านหลักสูตรการขนส่งและกระจายสินค้า และ ความเป็นผู้นำในศาสตร์ด้านการบริหาร การเงิน พร้อมทั้งการสนับสนุน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยที่มีสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจระบบ ได้เล็งเห็นความสำคัญและโอกาสในการสร้างงานให้กับวิศวกรไทยในอนาคต จึงสร้างหลักสูตรนี้ เพื่อผลิตบัณฑิตที่สนองตอบความต้องการของตลาดในขณะนี้ที่มีความต้องการเป็นจำนวนมาก หากแต่ยังไม่มีสถาบันใดสามารถผลิตบัณฑิตได้
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นสถานบันแห่งแรกในประเทศไทยที่ผลิตบัณฑิตด้านนวัตกรรมธุรกิจระบบราง
หลักสูตรนวัตกรรมธุรกิจระบบรางนี้ มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมออกแบบ และจัดการระบบราง มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ ทั้งด้านระบบขนส่งทางราง และ การวางผังเมือง การบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพด้านโลจิสติกส์และกลยุทธ์ การตัดสินใจในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบราง การพัฒนาความรู้ในวิชาการและวิชาชีพด้านนวัตกรรมธุรกิจระบบราง
การพัฒนาระบบราง
ปัจจุบันทางภาครัฐบาลได้ส่งเสริมการพัฒนาระบบขนส่งทางราง ไม่ว่าจะเป็นระบบรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าบนดิน และรถไฟฟ้าใต้ดิน ทั้งที่ก่อสร้างในปัจจุบันและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ให้ครอบคลุม 76 จังหวัด รวมระยะทางมากกว่า 30,000 กิโลเมตร ผ่านย่านธุรกิจ การค้า และ อุตสาหกรรม รวมทั้งมีการพัฒนาสถานีและย่านธุรกิจโดยรอบทั้ง 76 จังหวัด ไม่น้อยกว่า 400 สถานี
ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบราง
ธนาคารโลก (World Bank) ได้ดาดการณ์ว่าประเทศไทยจะเป็นแหล่งลงทุนในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบรางเนื่องจาก การเป็นศูนย์การค้าการลงทุนเชื่อมโยงอาเซียน กอปรกับมีพื้นที่ในการพัฒนามากกว่า 30,000 ตารางกิโลเมตร รวมถึงเป็นศูนย์กลางของธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบรางของกลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องกับระบบรางชั้นนำจากต่างประเทศ เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ ญี่ปุ่น และ อเมริกา ที่สามารถรองรับการเจริญเติบโตของธุรกิจใน ASEAN เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคอื่นทั่วโลก
การจ้างงานในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบราง
ปัจจุบันองค์กรภาครัฐ และ กลุ่มบริษัทเอกชน ทั้งในประเทศไทย และ ต่างประเทศ ได้ลงทุนในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบรางในประเทศไทยเป็นจำวนมาก ทำให้องค์กรและบริษัทดังกล่าวมีความต้องบุคลากรสายตรงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบรางที่มีศักยภาพไม่ต่ำกว่าปีละ 10,000 อัตรา เฉพาะในอาเซียน และ ประเทศไทยมีความต้องการปีละไม่ต่ำกว่า 2,000 อัตรา โดยขณะนี้ยังไม่มีสถาบันการศึกษาใดสามารถผลิตบุคลากรด้านนวัตกรรมธุรกิจระบบราง โดยทั่วไปจะเน้นที่การสอนระบบรางเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ลักษณะงานและองค์กรที่สามารถเข้าทำงานได้
